Jump to Navigation

Message from UN Secretary-General

Mr. Ban Ki Moon

It gives me great pleasure to greet the honourable mayors and others participating in this forum.   Cities continue to lead the way as laboratories of innovation and drivers of sustainable development.

With more and more people living in urban areas, the road to global sustainability, peace and progress runs through the world's cities and towns. And with Asia’s city dwellers responsible for more than 80 per cent of the region’s gross domestic product, Asian cities are major engines of growth for the global economy.

Mayors everywhere are making important contributions on a spectrum of urgent challenges. Your engagement has illustrated the key role that cities and towns can play in eradicating poverty, protecting the natural environment and mitigating disaster risks. You have shown how we can save resources and promote greater dignity and equity by using less fuel for urban transport; greening our buildings; promoting resilient communities and good governance and ensuring a decent urban living environment for all.

But you also know first-hand that our work is not done, and that rapid unplanned urban expansion continues to cause suffering and instability.

I therefore encourage you to work closely with UN-Habitat -- the organization that represents your issues within the UN system, and with ESCAP, the UN Economic and Social Commission for Asia and the Pacific.

UN-Habitat’s “I’m a City Changer” campaign can help you to keep on pushing for sound national urban strategies and balanced regional development policies. Your voices will also be crucial in discussions on the post-2015 development agenda, and I am very glad that Mayor Topbaş of Istanbul is a member of the High Level Panel that I have established to guide this hugely important undertaking. I also look forward to your engagement as we prepare for the Habitat III conference, to be held in 2016 – a major opportunity to set a new ‘urban agenda’.

The United Nations wants to work with you even more closely than we do already. By building more sustainable cities and regions, you can help lead us to the future we want. Thank you for your expertise, commitment and vision. I wish you successful deliberations.

 
 

 

 

      ในนามของคณะผู้บริหารและชาวกรุงเทพมหานคร ผมขอต้อนรับบรรดาแขกจากต่างแดนของเราทุกท่าน ซึ่งเดินทางมาเข้าร่วมเวทีประชุมคณะผู้บริหารนายกเทศมนตรีแห่งภูมิภาคเอเชียที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกนี้ด้วยความยินดียิ่ง ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครรู้สึกภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมในครั้งนี้ ที่ได้รวบรวมบรรดานายกเทศมนตรีและคณะผู้บริหารจากเมืองสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน และเพื่อแสวงหาหนทางสร้างสรรค์และปฏิบัติได้จริงในการบริหารจัดการเมือง 

    ด้วยทำเลที่ตั้งอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บวกกับทรัพยากรธรรมชาติอันอุดม ประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน และความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งหมดส่งผลให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่นานาประเทศยกให้เป็น “เมืองที่ดีที่สุดในโลก” (World’s Best City) จากการจัดอันดับของผู้อ่านนิตยสารทราเวลแอนด์ลีเชอร์สามครั้งซ้อนในปี 2551 2553 และ 2554

       เราเห็นว่าความร่วมมือกับบรรดาเมืองต่างๆ นี้นับเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นส่วนหนึ่งอันทรงคุณค่าของความพยายามที่จะให้การพัฒนาเป็นไปอย่างยั่งยืน และไปพร้อมๆ กับบรรยากาศการแข่งขันทางเศรษฐกิจในกรุงเทพมหานคร ในการนี้ เรายังรู้สึกซาบซึ้งยินดีอย่างยิ่งถึงความสำคัญของผลสำเร็จอันเกิดจากความร่วมมือร่วมใจภายใต้กรอบการทำงานของเวทีประชุมนายกเทศมนตรีแห่งเอเชีย สถานที่ซึ่งเราสามารถร่วมแบ่งปันปัญหา ประสบการณ์ และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดกับบรรดาหุ้นส่วนและเพื่อนทั้งหลาย

       ผมเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าบรรดาผู้เข้าร่วมเวทีประชุมคณะผู้บริหารนายกเทศมนตรีแห่งเอเชียครั้งแรกจะพบว่าการประชุมที่จัดขึ้นในกรุงเทพมหานครแห่งนี้เป็นประสบการณ์ที่คุ้มค่า กรุงเทพมหานครแห่งนี้หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะให้การต้อนรับเป็นอย่างดีกับบรรดาแขกของเราทุกคนในการประชุมครั้งนี้

 

 

 
Background of Asian Mayors Forum

          เวทีการประชุมนายกเทศมนตรีแห่งภูมิภาคเอเชียจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน ปี 2551 ที่กรุงเตห์ราน ด้วยการริเริ่มของเจ้าภาพ คุณโมฮัมเหม็ด-บาเคอร์ คอลิฟะห์ นายกเทศมนตรีผู้ทรงเกียรติแห่งกรุงเตห์ราน พร้อมคณะเทศบาลกรุงเตห์ราน ซึ่งในครั้งนั้น บรรดานายกเทศมนตรีและคณะปกครองส่วนท้องถิ่นจาก 89 ชาติ ทั้งในและนอกภูมิภาคเอเชียได้เดินทางมาเข้าร่วม โดยในการประชุมดังกล่าว ผู้เข้าร่วมงานทุกท่านได้เลือกคติพจน์ของการประชุมว่า “เอเชียเพื่อพลเมือง : การผสานเพื่อชีวิตที่ดียิ่งขึ้น” (Asia for Citizens : Integration for a Better Life) ขณะเดียวกัน ก็ได้ตอบรับการริเริ่มของนายกเทศมนตรีกรุงเตห์รานสำหรับการก่อตั้งสำนักงานเลขาธิการถาวรของการประชุมนายกเทศมนตรีแห่งภูมิภาคเอเชีย (Asian Mayors Forum : AMF) ณ กรุงเตห์ราน

            เวทีการประชุมแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นโดยบทบัญญัติมาตราที่ 63 ของคำประกาศสุดท้ายของสมัชชารัฐสภาแห่งเอเชีย (Asian Parliamentary Assembly : APA) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงไว้ซึ่งสันติภาพที่ยั่งยืน สนับสนุนความร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ระหว่างรัฐบาลและประชาชนในภูมิภาค  ขยายสัมพันธภาพระหว่างประเทศ ตลอดจนตระเตรียมความต้องการพื้นฐานเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับทุกประเทศในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งมีความแตกต่างในด้านเศรษฐกิจ สังคม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

            ด้วยเป้าหมายดังกล่าว ส่งผลให้อีกหนึ่งปีต่อมา ในการประชุมที่มีนายกเทศมนตรีหรือบรรดาผู้แทนจาก 46 ชาติเอเชีย ได้ตัดสินใจให้การประชุมนายกเทศมนตรีแห่งภูมิภาคเอเชียสมควรจัดขึ้นทุกๆ 2 ปีตามเมืองต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแห่งนี้ โดยในครั้งนั้น กรุงอิสตันบูล ได้รับการรับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมนายกเทศมนตรีแห่งภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน 2554

 

The second meeting of the Asian Mayors Forum

          การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นที่กรุงอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี ระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน 2554 โดยมีนายกเทศมนตรีจาก 51 ชาติเอเชียและยุโรป รวมถึงผู้เชี่ยวชาญอาวุโส 128 ท่านจากเทศบาลเอเชีย บรรดาสมาชิกคณะกรรมการเมืองในเอเชีย และผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศ 10 ท่านเข้าร่วม

            ทั้งนี้ การประชุมในครั้งนั้นมุ่งหารือในประเด็นเรื่อง “ผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกต่อเศรษฐกิจของเมืองในภูมิภาคเอเชีย” เป็นหลักใหญ่ โดยมีประเด็นรองอื่นๆ ของการหารือของคณะทำงานผู้ชำนาญการพิเศษต่างๆ ควบคู่ไปด้วย นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการหลักของการประชุมขึ้น 3 ด้าน และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการซึ่งอยู่ภายใต้หัวข้อ 1) ความท้าทายต่างๆ ที่เมืองในภูมิภาคเอเชียต้องเผชิญ 2) การทูตและความร่วมมือระหว่างเมืองต่อเมือง และ3) การมีส่วนร่วมของรัฐบาลท้องถิ่นและพลเมือง

          สำหรับการประชุมนายกเทศมนตรีแห่งภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 2 นี้ สิ้นสุดลงด้วยการเลือกให้ ดอกเตอร์ คาดีร์ ท๊อปบาส นายกเทศมนตรีแห่งกรุงอิสตันบูล เป็นประธานคนใหม่ของเวทีประชุมนายกเทศมนตรีแห่งภูมิภาคเอเชียประจำระยะเวลาทำงาน 2 สมัย (2554-2555) พร้อมกับการประกาศรายชื่อสมาชิกคณะกรรมการผู้บริหารเวทีประชุมนายกเทศมนตรีแห่งภูมิภาคเอเชีย 21 เมือง ประกอบด้วย เมืองอเลปโป (ซีเรีย) เมืองบาลเบค (เลบานอน) กรุงแบกแดด (อิรัก) กรุงเทพมหานคร (ไทย) กรุงปักกิ่ง (จีน) บิชเคค (คีร์กิซาสถาน) เมืองปูซาน (เกาหลีใต้) กรุงโดฮา (กาตาร์) เมืองกาซา (ปาเลสไตน์) เมืองกาเซียนเทป (ตุรกี) นครโฮจิมินห์ (เวียดนาม) กรุงอิสตันบูล (ตุรกี) กรุงคาบูล (อัฟกานิสถาน) นครการาจี (ปากีสถาน) เมืองคาซาน (รัสเซีย) กรุงกัวลาลัมเปอร์ (มาเลเซีย) เมืองคูเวต (คูเวต) เมืองแซมซัน (ตุรกี) เมืองชีราซ (อิหร่าน) เมืองสุราบายา (อินโดนีเซีย) และกรุงเตห์ราน (อิหร่าน)

          การประชุมนายกเทศมนตรีแห่งภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 2 นี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม ด้วยข้อตกลงที่เท่าเทียมมากมาย ตามที่ได้สะท้อนออกมาให้เห็นในแถลงการณ์อิสตันบูล และฉันทามติของความร่วมมือในอนาคตโดยบรรดาเมืองต่างๆ ที่เข้าร่วม

 

The First Executive Board of Asian Mayors Forum Meeting

 

       ในฐานะที่เป็นหนึ่งสมาชิกคณะผู้บริหารเมือง กรุงเทพมหานครได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมคณะผู้บริหารเวทีประชุมนายกเทศมนตรีแห่งภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 1 (AMF Executive Board Meeting) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งการประชุมครั้งนี้นับเป็นก้าวย่างที่สำคัญในการวางรากฐานกรอบความร่วมมือขององค์กร ที่บรรดานายกเทศมนตรีและเหล่าผู้แทนจาก 21 ชาติสมาชิกคณะผู้บริหารเมือง ได้พูดคุยหารือร่วมกันในหลากหลายประเด็น ตลอดจนแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

                                                           

                                                  

 



Main menu 2

by Dr. Radut