แท็บหลัก
สภาเทศบาลเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย

ข้อมูลเมือง
ปีนัง (Penang) อยู่ ด้านเหนือสุดด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะปีนัง ยังคงอนุรักษ์อาคารบ้านเรือนด้วยเอกลักษณ์แบบอังกฤษและโปรตุเกส ในยุคที่เป็นอาณานิคมตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 คล้าย กับบ้านแบบโปรตุเกสในจังหวัดภูเก็ตของไทย มีประชาชนหลายเชื้อชาติวัฒนธรรมอาศัยอยู่รวมกันอย่างลงตัว ทั้งชาวมาเลเซีย อินเดีย จีน ยูเรเชีย อาร์เมเนีย ญี่ปุ่น อังกฤษ ยิว ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
ปีนัง 1 ใน 13 รัฐ ที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรมาเลเซีย รัฐปีนังมีสองส่วน ส่วนที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่เรียกว่า “เซอเบอรัง ไปร์” (จังหวัดเวลเลสเล่ย์) มีพื้นที่ประมาณ 760 ตารางกิโลเมตร ส่วนเกาะมีพื้นที่ 285 ตารางกิโลเมตร สองส่วนนี้คั่นด้วยช่องแคบ ส่วนที่แคบที่สุดกว้างเพียง 3 กิโลเมตรหากจะเดินทางด้วยรถยนต์ข้ามจากแผ่นดินใหญ่ไปยังเกาะ ต้องใช้สะพานปีนัง ระยะทาง 13.5 กิโลเมตร ที่ยาวที่สุดในเอเชีย และยาวเป็นที่ 4 ของโลก
เดิมชาวมาเลเซียรุ่นแรกเรียกรัฐปีนังว่า “ปูเลาวาซาตู” หรือ “เกาะเดี่ยว” และกลายมาเป็น “ปูเลาปีนัง” หรือ “เกาะหมาก” ในอดีตอังกฤษ โปรตุเกส และดัตช์ เข้ามาทำการค้าและเริ่มประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของเมืองปีนังในปี 1786 เมื่อ สุลต่านรัฐเคดะห์ยกเกาะปีนังให้แก่ บริษัท บริติช อีสต์ อินเดีย และ เรียกว่า เกาะปรินซ์ออฟเวลส์ หลังจากที่เข้ามาตั้งรกรากกันแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น จอร์จทาวน์ ตามพระนามของพระเจ้าจอร์จที่ 3 และในปี 1800 สุลต่าน รัฐเคดะห์ก็ยกดินแดนรัฐปีนังในส่วนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งเรียกว่า จังหวัดเวลเลสเล่ย์ ตามชื่อผู้สำเร็จราชการอังกฤษประจำอินเดียให้แก่อังกฤษและในปี 1832 ปีนังได้ถูกรวมเป็นอาณานิคมของอังกฤษรวมทั้งมะละกา และสิงคโปร์
ประวัติศาสตร์
เมืองหน้าด่านของอังกฤษแห่งนี้ ถูกค้นพบโดย กัปตัน ฟรานซิส ไลท์ (Captain Fransis Light) ในปี ค.ศ.1786 ซึ่งกัปตันไลท์ได้รับมอบเกาะปีนัง ในนามของบริษัทอีสต์ อินเดีย คอมพานี (East India Company) ด้วยการทำสัญญากับสุลต่านแห่งรัฐเคดาห์ (Sultan of Kedah) เพื่อปกป้องแผ่นดินแห่งนี้จากสยามประเทศ เมื่อกัปตันไลท์มาถึง เกาะแห่งนี้มีประชากรบางตา และมีเรื่องเล่าว่าตอนที่กัปตันไลท์มาถึง เค้าได้ใช้ปืนใหญ่ยิงเอาก้อนทองคำเข้าไปในเมือง เพื่อปลุกระดมให้ชนชั้นแรงงานลุกขึ้นมาสู้ก่อนที่จะยึดครองเกาะปีนัง
เขาได้เปลี่ยนชื่อเกาะเสียใหม่เป็น Prince of Wales Island เนื่องด้วยเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นในวันเกิดของเจ้าชายแห่งเวลล์ ไม่นานนักกัปตันไลท์ก็สถาปนาจอร์จทาวน์ และได้รับแผ่นดินผืนยาวบนแผ่นดินใหญ่ที่อยู่ติดกับเกาะปีนัง ซึ่งต่อมารู้จักกันในนามจังหวัดเวลเลสลี่ (Wellesley) จากนั้นจึงค่อยๆสถาปนาจอร์จทาวน์ให้เป็นเมืองท่าปลดภาษี และปลุกระดมคนพื้นเมืองให้จับจองพื้นที่มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ จากแผ่นดินที่มีพลเมืองเบาบาง เพิ่มจำนวนประชากร 10,000 คนเมื่อช่วงเปลี่ยนของศตวรรษ
ปี 1805 ปีนังเป็นอิสระ และไม่นานนักก็มีการตั้งชุดบริหารแบบรัฐบาลอินเดีย ซึ่งระบบการปกครองที่มีเค้าโครงเดียวกับเมืองมาดราส และบอมเบย์ จากนั้นในปี 1826 มีการถ่ายโอนมาจากสิงคโปร์ และมะละกา ที่ตั้งถิ่นฐานอย่างถาวรเริ่มขึ้น เศรษฐกิจเริ่มตื่นตัว จอร์จทาวน์พัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีการเปิดสอนภาษาอังกฤษเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อปี 1816
เศรษฐกิจ
ปีนังมีระบบเศรษฐกิจแบบผสม ทั้งอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เกษตรกรรม ทั้งอุตสาหกรรมไฮเทค ก็ได้รับการพัฒนา และลงทุนอย่างต่อเนื่องจากบริษัทนานาชาติ เป็นฐานการผลิต ซอฟแวร์ ฮาร์ดแวร์ และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ อีกทั้งอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ยังได้รับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง เนื่องจากปีนังเป็นจุดนัดพบสำคัญในภาคพื้นเอเชีย สำหรับการประชุมสำคัญๆ ในแขนงต่างๆ ปีนัง ยังเป็นทั้งศูนย์การจัดนิทรรศการ และการแสดง ด้านเกษตรกรรมปีนังสร้างผลผลิตปาล์มน้ำมัน ยางพารา และผลไม้ หลากประเภท ปีนัง ยังมีท่าเรือน้ำลึกที่เป็นด่านการค้าอันเป็นไปด้วยศักยภาพ และเป็นประตูเชื่อมต่อมาเลเซียกับอีกกว่า 200 ท่าเรือนานาชาติทั่วโลก
เว็บไซต์
ความตกลง
เทศบาลเกาะปีนัง ลงนามสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2555 ณ กรุงเทพมหานคร โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนางปาติฮาห์ บีที.อีสมาเอล
ประธานสภาเทศบาลเกาะปีนังและนายกเทศมนตรีเมืองจอร์จทาวน์ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพมหานครและเทศบาลเกาะปีนังแห่งมาเลเซียเป็นไปด้วยดีตลอดมาตั้งแต่ลงนามสถาปนาฯ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
กิจกรรมที่ผ่านมา :
ดาวน์โหลด หนังสือลงนามข้อตกลงเมืองพี่เมืองน้อง
ดาวน์โหลด หนังสือลงนามข้อตกลงเมืองพี่เมืองน้อง
ชื่อผู้นำ
H.E.Mrs. Dato' Patahiyah binti Ismail (Update 01-03-2560)ผลการดำเนินกิจกรรมภายหลังลงนาม
ที่ | วัน/เดือน/ปี | กิจกรรม | สถานที่ | ลิงค์อัลบั้มรูปภาพ | ลิงค์อัลบั้มวิดีโอ |
1 | 5 เมษายน 2555 | ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ นายปาติฮาห์ บีที. อีสมาเอล ประธานสภาเทศบาลเกาะปีนัง ลงนามสถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง | กรุงเทพมหานคร | ||
2 | 4 ธันวาคม 2555 | ตุน ดาโต๊ะ ซรี อุตามา ดร.ฮัจญี อับดุลราห์มาน บินฮาจิ อับบาส ผู้ว่าการรัฐปีนังและคณะเดินทางเยือนกรุงเทพมหานครในโอกาสจัดงานฉลองครบรอบ 74 ปีของผู้ว่าการรัฐและเข้าเยี่ยมคารวะ ผว.กทม.ณ ห้องอมรพิมาน และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันกลางวันแด่คณะ | กรุงเทพมหานคร | ||
3 | 1 ตุลาคม 2557 | Penang Councilors and Officials ofDepartment of Urban Services เยือนกทม. เพื่อศึกษาดูงานด้านการให้บริการสาธารณะ (urban services, cleanliness, and licensing of entertainment outlet) | กรุงเทพมหานคร |
- 142842 reads